เมนู

อรรถกถาทุติยโสเจยยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโสเจยยสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ที่เป็นไปในภายในแน่นอน. นิวรณ์ คือ
กามฉันทะ ชื่อว่า กามฉันทะ. แม้ในนิวรณ์มีพยาบาทเป็นต้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ส่วน
ในคาถา บทว่า กายสุจึ ได้แก่ความสะอาดในกายทวาร หรือความสะอาด
ทางกาย. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า นินฺหาตปาปกํ
ความว่า ล้างคือชำระบาปทั้งหมดแล้วดำรงอยู่. ทั้งโดยพระสูตรนี้ ทั้งโดย
พระคาถา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระขีณาสพอย่างเดียว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาโสเจยยสูตรที่ 9

10. โมเนยยสูตร



ว่าด้วยความเป็นมุนี 3 อย่าง



[562] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายโมไนยะ (ความเป็นมุนี คือนักปราชญ์)
3นี้ โมไนยะ 3 คืออะไรบ้าง คือกายโมไนยะ (ความเป็นปราชญ์ทางกาย)
วจีโมไนยะ (ความเป็นปราชญ์ทางวาจา) มโนโมไนยะ (ความเป็น
ปราชญ์ทางใจ)
กายโมไนยะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นจาก
ปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า กาย-
โมไนยะ

วจีโมไนยะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นจาก
มุสาวาท เว้นจากปิสุณาวาจา เว้นจากผรุสวาจา เว้นจากสัมผัปปลาป นี้เรียกว่า
วจีโมไนยะ
มโนโมไนยะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วย
ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ นี้เรียกว่ามโนโมไนยะ
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย โมไนยะ 3.
นิคมคาถา
บุคคลผู้เป็นปราชญ์ทางกาย เป็น
ปราชญ์ทางวาจา เป็นปราชญ์ทางใจ หา
อาสวะมิได้ เป็นปราชญ์พร้อมด้วยคุณ
ธรรมของปราชญ์ บัณฑิตกล่าวบุคคลนั้น
ว่า ผู้ละบาปหมด.

จบโมเนยยสูตรที่ 10
จบอาปายิกวรรคที่ 1

อรรถกถาโมเนยยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในโมเนยยสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
ความเป็นมุนี ชื่อว่า โมเนยยะ. ความเป็นมุนี คือความเป็นสาธุชน
ได้แก่ความเป็นบัณฑิต ในกายทวาร ชื่อว่า กายโมเนยยะ. แม้ในบททั้งสอง
ที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว กายโมเนยฺยํ